หลักสูตรกายภาพบำบัด

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชากายภาพบำบัด หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560

ดาวน์โหลดหลักสูตร PDF ไฟล์
 

1. รหัสและชื่อหลักสูตร

รหัส -
ภาษาไทย หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชากายภาพบำบัด
ภาษาอังกฤษ Bachelor of Science Program in Physical Therapy

2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อปริญญาภาษาไทย: วิทยาศาสตรบัณฑิต (กายภาพบำบัด)
ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษ: Bachelor of Science (Physical Therapy)
อักษรย่อภาษาไทย: วท.บ. (กายภาพบำบัด)
อักษรย่อภาษาอังกฤษ: B.Sc. (Physical Therapy

3. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 141 หน่วยกิต

4. รูปแบบของหลักสูตร

หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี ปริญญาตรีทางวิชาชีพ ระบบทวิภาค  โดย 1 ปีการศึกษา             แบ่งเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ 1 ภาคการศึกษา        ปกติมีระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์   มีภาคฤดูร้อน      จำนวน 1 ภาค ภาคละ 8 สัปดาห์ ภาษาไทย รับนิสิตไทย และนิสิตต่างชาติที่มีความรู้ภาษาไทยเป็นอย่างดี เป็นหลักสูตรเฉพาะของสถาบัน

5. ความสำคัญของหลักสูตร

กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดวิสัยทัศน์ และเป้าหมายของ แผนพัฒนาสุขภาพ ฉบับที่ 11 พ.ศ.2555-2559 โดยน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และกำหนดให้สอดคล้องกับทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 ที่มีนโยบายสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้ความสำคัญกับการสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม เน้นการบริการสุขภาพแบบองค์รวมในเชิงรุก ส่งเสริมสุขภาพของประชาชน เพื่อป้องกันและลดความรุนแรงของการเกิดโรค เป็นการลดงบประมาณในการรักษาอาการเจ็บป่วยในโรงพยาบาล และเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพกายใจที่แข็งแรง ซึ่งประชาชนเหล่านี้ คือ กำลังสำคัญในการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ
กายภาพบำบัด คือ วิชาชีพที่กระทำต่อมนุษย์เกี่ยวกับการตรวจประเมิน การวินิจฉัย และ การบำบัดความบกพร่องของร่างกาย ซึ่งเกิดเนื่องจากภาวะของโรคหรือการเคลื่อนไหวที่ไม่ปกติ การป้องกัน การแก้ไข และการฟื้นฟูความเสื่อมสภาพ ความพิการของร่างกาย รวมทั้งการส่งเสริมสุขภาพร่างกายและจิตใจ ด้วยวิธีการทางกายภาพบำบัดหรือการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่รัฐมนตรีประกาศโดยคำแนะนำของคณะกรรมการให้เป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์กายภาพบำบัด ดังนั้น ขอบเขตการปฏิบัติงานของนักกายภาพบำบัดมีทั้งที่ปฏิบัติงานในสถานพยาบาล สถานส่งเสริมสุขภาพ องค์กรธุรกิจ และชุมชน กายภาพบำบัดเป็นวิชาชีพขาดแคลนตามแผนแม่บทกำลังคนด้านสาธารณสุข พ.ศ.2546-2556 ปัจจุบันมีนักกายภาพบำบัดที่ขึ้นทะเบียนประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัดประมาณ 8,000 คน อย่างไรก็ตาม จำนวนนักกายภาพบำบัดก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของสถานบริการสุขภาพในคนทุกระดับ หากยึดตามหลักมาตรฐานกายภาพบำบัด พ.ศ.2549 นักกายภาพบำบัดหนึ่งคนสามารถดูแลผู้ป่วยเฉลี่ย 15 คนต่อวัน เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการบำบัดรักษาอย่างครอบคลุม แต่สัดส่วนนักกายภาพบำบัดในปัจจุบันที่มีน้อยเปรียบเทียบกับจำนวนผู้เข้ารับบริการในโรงพยาบาลที่มีจำนวนมากกว่าหลายเท่าตัว ในปี พ.ศ.2568 คาดการณ์ว่าประเทศไทยจะมีประชากรรวม 72 ล้านคน โดยมีจำนวนประชากรที่เป็นผู้สูงอายุร้อยละ 20 หรือประมาณ 14 ล้านคน ซึ่งประชากรผู้สูงอายุที่มากขึ้นนี้ มีผลกระทบต่อโครงสร้างการให้บริการสาธารณสุขของประเทศ เนื่องจากเป็นกลุ่มประชากรที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรังต่างๆ และมีปัญหาในการเคลื่อนไหวและการดูแลตนเอง นอกจากกลุ่มประชากรผู้สูงอายุแล้ว ภาคตะวันออกยังเป็นภูมิภาคที่มีประชากรผู้ใช้แรงงานในภาคอุตสาหกรรมการผลิตและการท่องเที่ยวจำนวนมากภูมิภาคหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งสังคมผู้ใช้แรงงานในภาคอุตสาหกรรม มีวิถีชีวิตที่มีการเคลื่อนไหวลดลง ทำงานในรูปแบบซ้ำๆ มากขึ้น ส่งผลต่อความเจ็บป่วยของระบบประสาทกล้ามเนื้อที่ทำให้เกิดภาวะปวดเรื้อรังมากขึ้น ซึ่งปัญหาดังกล่าวหากได้รับคำแนะนำเพื่อส่งเสริมสุขภาพ ป้องกัน และดูแลรักษาทางกายภาพบำบัดที่เหมาะสมจะช่วยลดภาระทางเศรษฐกิจที่เกิดจากความเจ็บปวดเรื้อรังจากการทำงานได้
จากบริบทของสังคมแวดล้อมใกล้เคียงมหาวิทยาลัยบูรพา ประชาชนในสังคมประกอบอาชีพธุรกิจด้านการท่องเที่ยวและมีสถานประกอบการทางด้านสุขภาพ รวมทั้งมีเขตอุตสาหกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก ประกอบกับการเป็นสังคมผู้สูงอายุได้ชี้นำให้คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ในฐานะที่เป็นองค์กรหลักในการจัดการศึกษาของภาคตะวันออกได้ตระหนัก และคำนึงถึงการผลิตบุคลากรให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงระบบสุขภาพ และสภาพแวดล้อม จึงได้ดำเนินการสร้าง หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (กายภาพบำบัด) เพื่อผลิตบัณฑิตกายภาพบำบัดซึ่งเป็นทรัพยากรหนึ่งที่สำคัญของระบบงานด้านสุขภาพ มีความรู้ความสามารถด้านการตรวจประเมิน วินิจฉัย วางแผนในให้การบำบัดรักษาฟื้นฟูสภาพ ส่งเสริมสุขภาพ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ และผู้ใช้แรงงานในภาคอุตสาหกรรมการผลิตและการท่องเที่ยว

6. ปรัชญาหลักสูตร

มุ่งผลิตบัณฑิตกายภาพบำบัดให้มีปัญญาในการคิดวิเคราะห์ มีความรู้และมีทักษะทางกายภาพบำบัดตามมาตรฐานวิชาชีพ โดยมุ่งพัฒนาความรู้ การวิจัย และบริการวิชาการในเวชศาสตร์ผู้สูงอายุและอาชีวอนามัยที่ทันสมัย และเป็นประโยชน์ต่อสังคม อีกทั้งมีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพกายภาพบำบัด

7. วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแล้ว บัณฑิตกายภาพบำบัดจะ
7.1 มีงานทำและศึกษาต่อทางด้านกายภาพบำบัดหรือวิทยาศาสตร์สุขภาพ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
7.2 บัณฑิตกายภาพบำบัดจะมีคุณธรรม จริยธรรม ความรู้ และความสามารถดังต่อไปนี้
7.2.1มีคุณธรรม จริยธรรม มีจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัด และจิตอาสา ทั้งการปฏิบัติงานและการดำรงชีวิต มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพกายภาพบำบัด
7.2.2 มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการประกอบวิชาชีพโดยใช้หลักการคิดและตัดสินใจทางคลินิกตามมาตรฐานวิชาชีพกายภาพบำบัดที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคมและชุมชน โดยเฉพาะในผู้สูงอายุและผู้ใช้แรงงานในภาคอุตสาหกรรมการผลิตและการท่องเที่ยว
7.2.3 สามารถคิดวิเคราะห์ และแก้ปัญหาทางด้านกายภาพบำบัดและบริบทที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบและสร้างสรรค์
7.2.4 มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีความเป็นผู้นำ ผู้ตาม และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสมตามสถานการณ์
7.2.5 สามารถใช้ภาษาในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อแสวงหาความรู้ทางกายภาพบำบัดและวิทยาศาสตร์สุขภาพที่เกี่ยวข้อง และใช้ข้อมูลทางวิชาการที่น่าเชื่อถือ สามารถนำมาประยุกต์ในวิชาชีพและชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
7.2.6 พัฒนาตนเอง และวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง โดยการศึกษา ค้นคว้า ใช้กระบวนการวิจัยและเรียนรู้จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพและทันสมัย

8. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร

8.1 คุณธรรม จริยธรรม
(1) มีคุณธรรมจริยธรรมในการดำเนินชีวิตบนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
(2) มีวินัย เป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้อื่น มีความเข้าใจและเห็นคุณค่าของตนเอง ผู้อื่น สังคม ศิลปวัฒนธรรม
(3) มีความรู้ ความเข้าใจหลักคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ตลอดจนสิทธิพื้นฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานทางกายภาพบำบัด
(4) แสดงออกซึ่งพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม เช่น มีวินัย มีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์สุจริต เสียสละ เคารพในคุณค่าศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ และสามารถจัดการกับปัญหาคุณธรรม จริยธรรม โดยใช้ดุลยพินิจที่เหมาะสม
(5) ปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ และสามารถจัดการกับปัญหาจริยธรรมในการปฏิบัติงานในวิชาชีพกายภาพบำบัด
(6) ส่งเสริมให้ผู้ใช้บริการได้รับรู้ และเข้าใจสิทธิของตนเองในการรับบริการกายภาพบำบัด
8.2 ความรู้
(1) มีความรอบรู้ เข้าใจหลักการและทฤษฎีพื้นฐาน
(2) สามารถประยุกต์ความรู้จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ
(3) สามารถค้นคว้าเพื่อการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
(4) อธิบายสาระสำคัญของศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานของชีวิต
(5) อธิบายสาระสำคัญของศาสตร์พื้นฐานวิทยาศาสตร์สุขภาพ
(6) อธิบายสาระสำคัญของศาสตร์ทางวิชาชีพกายภาพบำบัด
(7) อธิบายสาระสำคัญของระบบสุขภาพ กฎหมาย การจัดการและการบริหารงานเบื้องต้นของ
ระบบการบริการกายภาพบำบัด
(8) มีความรู้ด้านการวิจัยและการติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการ
8.3 ทักษะทางปัญญา
(1) มีทักษะการแสวงหาความรู้ ประยุกต์เพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
(2) มีทักษะการคิดแบบองค์รวม เพื่อแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับสถานการณ์
(3) สามารถคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบและมีเหตุมีผลตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
(4) สามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองให้มีความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้น
(5) สามารถคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ โดยใช้องค์ความรู้ทางวิชาชีพและความรู้อื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ปลอดภัยและมีคุณภาพในการดูแลสุขภาพ
(6) สามารถใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการวิจัยหรือสร้างนวัตกรรม ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพกายภาพบำบัด
(7) สามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้สาขากายภาพบำบัด กับความรู้ศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับสถานการณ์และบริบททางสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงไป
8.4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
(1) มีจิตสาธารณะ มีความรับผิดชอบ สำนึกในความเป็นพลเมือง ที่มีคุณค่าต่อสังคม และมีความ เป็นไทย
(2) สามารถทำงานเป็นทีมในบทบาทผู้นำและสมาชิก ในบริบทหรือสถานการณ์ที่แตกต่างกัน
(3) มีจิตบริการ สามารถปรับตัวและมีปฏิสัมพันธ์อย่างสร้างสรรค์กับผู้ใช้บริการ ผู้ร่วมงาน และผู้บังคับบัญชา
(4) มีความรับผิดชอบในการพัฒนาตนเอง และวิชาชีพ
8.5 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ
(1) สามารถใช้ข้อมูลเชิงตัวเลข และเทคโนโลยีสารสนเทศ อย่างรู้เท่าทัน
(2) สามารถใช้ภาษาในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
(3) สามารถศึกษา ทำความเข้าใจประเด็นปัญหา เลือก และประยุกต์เทคนิคทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ในการศึกษาค้นคว้าและเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหา
(4) สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประมวลผล แปลความหมาย และนำเสนอข้อมูลสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
(5) สามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถเลือกใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสม
8.6 ทักษะเชิงวิชาชีพ
(1) สามารถปฏิบัติทักษะทางวิชาชีพกายภาพบำบัด ในการตรวจประเมิน วินิจฉัยทางกายภาพบำบัด ป้องกัน บำบัดรักษา ฟื้นฟู และส่งเสริมสุขภาพแก่ผู้ใช้บริการตามมาตรฐานวิชาชีพกายภาพบำบัด
(2) สามารถปฏิบัติทักษะทางวิชาชีพกายภาพบำบัดอย่างเป็นองค์รวม โดยประยุกต์ความรู้ ความเข้าใจศาสตร์กายภาพบำบัดและศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง การใช้เหตุผลทางคลินิก (Clinical Reasoning) และหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-based) ในการปฏิบัติงาน

9. หลักสูตรที่เทียบเคียง: ไม่มี 

หลักสูตรที่เทียบเคียง: ไม่มี 

10. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

- นักกายภาพบำบัดในสถานบริการสุขภาพทุกระดับ (ปฐมภูมิ ทุติยภูมิ ตติยภูมิ)
- นักกายภาพบำบัดประจำทีมหรือสโมสรกีฬา
- นักกายภาพบำบัดประจำโรงเรียนการศึกษาพิเศษ
- นักกายภาพบำบัดประจำสถานประกอบการ
- ประกอบอาชีพอิสระด้านกายภาพบำบัดทั้งในและต่างประเทศ
- ศึกษาต่อระดับปริญญาโทและปริญญาเอกสาขากายภาพบำบัดหรือวิทยาศาสตร์การแพทย์และสุขภาพที่เกี่ยวข้อง

11. คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญที่เน้นวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์หรือเทียบเท่า
- มีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่เจ็บป่วยหรือเป็นโรคติดต่อร้ายแรงหรือมีความผิดปกติอื่นๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
- มีคุณสมบัติอื่นครบถ้วนตามประกาศมหาวิทยาลัยบูรพา เรื่อง การศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2559
- มีคุณสมบัติอื่นครบถ้วนตามข้อประกาศสภากายภาพบำบัดว่าด้วยโรคซึ่งต้องห้ามเป็นสมาชิก พ.ศ. 2549 เช่น ต้องไม่เป็นโรคเรื้อนในระยะติดต่อหรือในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม วัณโรคในระยะอันตราย โรคเท้าช้างในระยะที่ปรากฏอาการที่น่ารังเกียจแก่สังคม โรคพิษสุราเรื้อรัง และโรคอื่นๆซึ่งคณะกรรมการสภากายภาพบำบัดเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการประกอบวิชาชีพ

12. โครงสร้างหลักสูตร

1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

30 หน่วยกิต

2) หมวดวิชาเฉพาะ

105 หน่วยกิต

2.1) ความรู้พื้นฐานวิทยาศาสตร์สุขภาพ หรือความรู้พื้นฐานวิชาชีพ

30 หน่วยกิต

  2.2) ความรู้เฉพาะด้านวิชาชีพกายภาพบำบัด  

69 หน่วยกิต

  2.2) ความรู้เฉพาะด้านวิชาชีพกายภาพบำบัด  

2 หน่วยกิต

  2.2) ความรู้เฉพาะด้านวิชาชีพกายภาพบำบัด  

4 หน่วยกิต

3) หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า

6 หน่วยกิต

13.แผนการศึกษา

13.แผนการศึกษา

ปีที่ 1 ภาคการศึกษาต้น (First Semester)

หมวดวิชา

รหัสและชื่อรายวิชา

หน่วยกิต
(ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

ศึกษาทั่วไป

99920159

การเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
English Writing for Communication

3(3-0-6)

30210159                 

คณิตคิดทันโลก
Contemporary Mathematics

2(2-0-4)

40430659               

จิตตปัญญาศึกษาเพื่อการพัฒนาตนเอง
Contemplative Education for Self Development

2(2-0-4)

วิชาเฉพาะ

68312160

บทนำวิชาชีพกายภาพบำบัด
Introduction to Physical Therapy

1(1-0-2)

30310759

เคมีพื้นฐาน
Basic Chemistry                                                  

3(3-0-6)

30310859               

ปฏิบัติการเคมีพื้นฐาน
Basic Chemistry Laboratory

1(0-3-1)

30610059

ชีววิทยาทั่วไป 1
General Biology I

3(3-0-6)

30610159

ปฏิบัติการชีววิทยาทั่วไป 1
General Biology Laboratory I

1(0-3-1)

30810659

ฟิสิกส์สำหรับวิทยาศาสตร์สุขภาพ
Physics for Health Science

3(3-0-6)

30810759

ปฏิบัติการฟิสิกส์สำหรับวิทยาศาสตร์สุขภาพ
Physics Laboratory for Health Science

1(0-3-1)

วิชาเลือกเสรี

xxxxxxxx

วิชาเลือกเสรี                                            

2(x-x-x)

 

รวม (Total)

22 หน่วยกิต


ปีที่ 1 ภาคการศึกษาปลาย (Second Semester)

หมวดวิชา

รหัสและชื่อรายวิชา

หน่วยกิต
(ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

ศึกษาทั่วไป

22810159

ทักษะการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร
Thai Language Skills for Communication  

3(3-0-6)

24510159

ทักษะสารสนเทศในสังคมฐานความรู้
Information Skills in Knowledge-based Society

3(3-0-6)

68019359

ชีวิตและสุขภาพ
Life and Health

2(2-0-4)

30610659

ความหลากหลายทางชีวภาพและการอนุรักษ์
Biodiversity and Conservation

2(2-0-4)

41530359

จิตวิทยาเพื่อคุณภาพชีวิต
Psychology for the Quality of Life

2(2-0-4)

99910159

ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
English for Communication

3(3-0-6)

วิชาเฉพาะ

68311160

มหกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ 1
Human Gross Anatomy I            

3(2-3-5)

วิชาเลือกเสรี

xxxxxxxx               

วิชาเลือกเสรี                                            

2(x-x-x)

 

รวม (Total)

20 หน่วยกิต


ปีที่ 2 ภาคการศึกษาต้น (First Semester)

หมวดวิชา

รหัสและชื่อรายวิชา

หน่วยกิต
(ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

ศึกษาทั่วไป

26510359

มนุษย์กับทักษะการคิด
Man and Thinking Skills

2(2-0-4)

41410159

พลวัตกลุ่มและภาวะผู้นำ
Group Dynamics and Leadership

3(3-0-6)

99910259               

ภาษาอังกฤษระดับมหาวิทยาลัย
Collegiate English

3(3-0-6)

วิชาเฉพาะ

68321160               

มหกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ 2
Human Gross Anatomy II

3(2-3-5)

68322160

ชีวกลศาสตร์การเคลื่อนไหวในมนุษย์
Biomechanics of Human Movement

3(2-3-5)

68321260

ประสาทวิทยาศาสตร์สำหรับกายภาพบำบัด
Neurosciences for Physical Therapy

2(2-0-4)

68021160

สรีรวิทยาของมนุษย์สำหรับวิทยาศาสตร์สุขภาพ
Human Physiology for Health Sciences

3(2-3-5)

79223160

เภสัชสรีรวิทยาคลินิกสำหรับกายภาพบำบัด
Clinical Pharmacophysiology for Physical Therapy

1(1-0-2)

68323160               

ปฏิบัติการนวดเพื่อการบำบัด
Therapeutic Massage Laboratory

1(0-3-1)

รวม (Total)

21 หน่วยกิต


ปีที่ 2 ภาคการศึกษาปลาย (Second Semester)

หมวดวิชา

รหัสและชื่อรายวิชา

หน่วยกิต
(ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

หมวดวิชาเฉพาะ

68019259

ชีวเคมีเบื้องต้นสำหรับวิทยาศาสตร์สุขภาพ
Basic Biochemistry for Health Sciences

2(2-0-4)

68321360

พยาธิวิทยาทั่วไปสำหรับกายภาพบำบัด
General Pathology for Physical Therapy

2(2-0-4)

68322260

กายภาพบำบัดระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ 1
Musculoskeletal Physical Therapy I

2(2-0-4)

68322360

กายภาพบำบัดระบบประสาท 1
Neurological Physical Therapy I

2(2-0-4)

68323260               

สรีรวิทยาการออกกำลังกายและสมรรถภาพทางกาย
Exercise Physiology and Physical Performance

2(1-2-3)

68323360

การบำบัดด้วยการขยับ ดัด และดึง
Mobilization and Manipulative Therapy

3(1-4-4)

68323460

การออกกำลังกายเพื่อการบำบัด 1
Therapeutic Exercise I

2(1-3-3)

68323560

ปฏิบัติการตรวจความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
และองศาการเคลื่อนไหวของข้อต่อ
Evaluation of Manual Muscle Test and Joint Range of Motion Laboratory

1(0-3-1)

68323660

กายภาพบำบัดระบบหายใจและไหลเวียนโลหิต 1
Respiratory and Circulatory Physical Therapy I               

2(1-3-3)

วิชาเลือกเสรี

xxxxxxxx               

วิชาเลือกเสรี                                            

2(x-x-x)

รวม (Total)

20 หน่วยกิต


ปีที่ 3 ภาคการศึกษาต้น (First Semester)

หมวดวิชา

รหัสและชื่อรายวิชา

หน่วยกิต
(ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

หมวดวิชาเฉพาะ

68331160

กายภาพบำบัดในผู้ป่วยจิตเวช
Physical Therapy in Psychiatric Patients

2(2-0-4)

68333160

การออกกำลังกายเพื่อการบำบัด 2
Therapeutic Exercise II

2(1-3-3)

68333260

กายภาพบำบัดระบบหายใจและไหลเวียนโลหิต 2
Respiratory and Circulatory Physical Therapy II

3(2-3-5)

68334160

การวินิจฉัยและรักษาด้วยไฟฟ้า
Electrodiagnosis and Electrotherapy

3(2-3-5)

68334260

การรักษาด้วยความร้อนและแสง
Thermo and Actino Therapy

2(1-3-3)

68335160

กายภาพบำบัดระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ 2
Musculoskeletal Physical Therapy II

3(2-3-5)

68335260

กายภาพบำบัดระบบประสาท 2
Neurological Physical Therapy II

3(2-3-5)

68337160

การฝึกปฏิบัติงานกายภาพบำบัดคลินิก 1
Clinical Practicum I

1(0-5-1)

รวม (Total)

19 หน่วยกิต


ปีที่ 3 ภาคการศึกษาปลาย (Second Semester)

หมวดวิชา

รหัสและชื่อรายวิชา

หน่วยกิต
(ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

หมวดวิชาเฉพาะ

68335360

กายภาพบำบัดระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ 3
Musculoskeletal Physical Therapy III

2(1-3-3)

68335460

กายภาพบำบัดระบบประสาท 3
Neurological Physical Therapy III

2(1-3-3)

68335560

กายภาพบำบัดระบบหายใจและไหลเวียนโลหิต 3
Respiratory and Circulatory Physical Therapy III

2(1-3-3)

68335660

กายภาพบำบัดทางกุมารเวชศาสตร์
Pediatrics Physical Therapy

3(2-3-5)

68335760

กายภาพบำบัดทางการกีฬา
Sports Physical Therapy

2(1-3-3)

68337260

การฝึกปฏิบัติงานกายภาพบำบัดคลินิก 2
Clinical Practicum II

2(0-10-2)

68337360

การสัมมนางานวิจัยทางกายภาพบำบัด
Seminar in Physical Therapy

1(0-2-1)

68337460

ระเบียบวิธีวิจัยและสถิติทางกายภาพบำบัด
Research Methodology and Statistics in Physical Therapy

2(2-0-4)

รวม (Total)

16 หน่วยกิต


ปีที่ 3 ภาคการศึกษาฤดูร้อน (Summer Semester)

หมวดวิชา

รหัสและชื่อรายวิชา

หน่วยกิต

หมวดวิชาเฉพาะ

68337560

การฝึกปฏิบัติงานกายภาพบำบัดคลินิก 3
Clinical Practicum III

4(0-24-4)

รวม (Total)

4 หน่วยกิต


ปีที่ 4 ภาคการศึกษาต้น (First Semester)

หมวดวิชา

รหัสและชื่อรายวิชา

หน่วยกิต
(ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

หมวดวิชาเฉพาะ

68345160

กายภาพบำบัดในผู้สูงอายุ
Geriatric Physical Therapy

2(1-3-3)

68345260

กายภาพบำบัดชุมชน
Community Physical Therapy

2(1-3-3)

68345360

กายภาพบำบัดในภาวะเฉพาะ
Physical Therapy in Specific Conditions

2(2-0-4)

68347160

การฝึกปฏิบัติงานกายภาพบำบัดคลินิก 4
Clinical Practicum IV

4(0-20-4)

รวม (Total)

10 หน่วยกิต


ปีที่ 4 ภาคการศึกษาปลาย (Second Semester)

หมวดวิชา

รหัสและชื่อรายวิชา

หน่วยกิต
(ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง)

หมวดวิชาเฉพาะ

68345460

อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมสำหรับกายภาพบำบัด
Occupational Health and Environment for
Physical Therapy

2(1-3-3)

68347260

การฝึกปฏิบัติงานกายภาพบำบัดคลินิก 5
Clinical Practicum V

4(0-20-4)

68346160

จรรยาบรรณ กฎหมาย และการบริหารงานวิชาชีพ
Ethics, Laws, and Professional Administration

2(2-0-4)

68347360

ภาคนิพนธ์
Term Paper

1(0-3-1)

รวม (Total)

9 หน่วยกิต


14. อัตราการสำเร็จการศึกษา

ตารางข้อมูลการคงอยู่และการจบการศึกษาของนิสิตในหลักสูตรปริญญาตรี


รหัส
แรกเข้า

จำนวนที่ลงทะเบียน

จำนวนนิสิตที่จบภายในระยะเวลา

จำนวนนิสิตที่พ้นสภาพแต่ละชั้นปี

< 4 ปี

4 ปี

>4 ปี

1

2

3

4 เป็นต้นไป

60

47

-

35

11

0

1

0

-

61

50

-

-

-

1

5

-

-

62

49

-

-

-

3

6

-

-

63

55

-

-

-

1

-

-

-

15. อัตราการได้งานทำ

นิสิตรหัส 60 เพิ่งสำเร็จการศึกษาและรอสอบใบประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัด

หมายเหตุ
เป็นหลักสูตรเหมาจ่าย 35,000 บาทต่อภาคการศึกษา และภาคฤดูร้อน (ฝึกปฏิบัติงาน) 1 ภาคการศึกษาเหมาจ่าย 20,000 บาท


รายละเอียดติดต่อ

ผศ.ดร. ศิริรัตน์ เกียรติกูลานุสรณ์ ประธานหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (กายภาพบำบัด)
เบอร์โทรศัพท์ 038-103168

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชากายภาพบำบัด หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565
ดาวน์โหลดหลักสูตร PDF ไฟล์
 

Info 1

1. รหัสและชื่อหลักสูตร

รหัส 25530191102654
ภาษาไทย หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชากายภาพบำบัด
ภาษาอังกฤษ Bachelor of Science Program in Physical Therapy

2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อปริญญาภาษาไทย: วิทยาศาสตรบัณฑิต (กายภาพบำบัด)
ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษ: Bachelor of Science (Physical Therapy)

3. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 136 หน่วยกิต

4. รูปแบบของหลักสูตร

หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี (ปริญญาตรีทางวิชาชีพ)

5. ปรัชญาหลักสูตร

ผลิตนักกายภาพบำบัด แห่งศตวรรษที่ 21 มุ่งเน้นศาสตร์ผู้สูงอายุและกีฬา ที่มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพกายภาพบำบัดด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

6. วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยบูรพา และเป็นบัณฑิตกายภาพบำบัดที่มีลักษณะ ดังต่อไปนี้
1) ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างในการประกอบวิชาชีพ ตามหลักคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ และมีภาวะผู้นำในวงวิชาชีพ
2) มีความรู้และความชำนาญ ในการปฏิบัติวิชาชีพกายภาพบำบัดเฉพาะด้าน ในการส่งเสริม ป้องกัน รักษาและฟื้นฟู ที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคมและชุมชน ตามมาตรฐานวิชาชีพกายภาพบำบัด
3) สามารถคิดวิเคราะห์แก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนได้อย่างเป็นระบบ ในการดูแลสุขภาพ
4) แสดงออกซึ่งภาวะผู้นำในการริเริ่มดำเนินการเรื่องสำคัญได้ แสดงบทบาทผู้ตาม ผู้ประสานงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพตามสถานการณ์ และมีปฏิสัมพันธ์อย่างสร้างสรรค์กับผู้อื่น
5) สามารถพัฒนาตนเอง มีส่วนร่วมและช่วยริเริ่มวางแผนให้ผู้อื่นมีพัฒนาการที่ทันความก้าวหน้าในสาขาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
6) มีความรู้ และทักษะในเรื่องระบบสุขภาพ กฎหมาย และการบริหารจัดการเบื้องต้นและการประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัดโดยเฉพาะในผู้สูงอายุและกีฬา โดยใช้หลักการคิดและตัดสินใจทางคลินิกตามมาตรฐานวิชาชีพกายภาพบำบัด ที่สอดคล้องต่อการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงของสังคมและของภูมิภาคเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก
7) มีทักษะในการเป็นผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพกายภาพบำบัด

7. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร

1.ด้านคุณธรรม จริยธรรม
1.1 แสดงออกถึงความซื่อสัตย์ ระเบียบวินัย ศิลปวัฒนธรรมที่ดีงาม โดยเฉพาะเอกลักษณ์ความเป็นไทย
1.2 แสดงพฤติกรรมการเป็นพลเมืองที่ดีของสังคมไทยและสังคมโลก จิตสาธารณะ ร่วมการแก้ปัญหาสังคม การต่อต้านการทุจริต
1.3 แสดงออกซึ่งพฤติกรรมด้านคุณธรรม วินัย ความรับผิดชอบ ความเสียสละ ความเคารพในคุณค่าของศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ความกล้าหาญทางจริยธรรม โดยใช้ดุลยพินิจทางค่านิยมที่เหมาะสม
1.4 ปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพกายภาพบำบัด การส่งเสริมสิทธิผู้ป่วย การเป็นแบบอย่างที่ดีเข้าใจตนเองและผู้ใช้บริการ
2. ด้านความรู้
2.1 ระบุความรอบรู้ เท่าทันต่อการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงของภูมิภาคในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และของโลก
2.2 อธิบายความรู้ในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เป็นทฤษฎีพื้นฐานของชีวิต อย่างกว้างขวางและเป็นระบบ
2.3 อธิบายความรู้ในสาระสำคัญของศาสตร์พื้นฐานวิทยาศาสตร์สุขภาพ และวิชาชีพกายภาพบำบัด
2.4 อธิบายความรู้ เรื่องระบบสุขภาพ กฎหมาย และการบริหารจัดการเบื้องต้น ที่เกี่ยวข้องกับงานกายภาพบำบัด
2.5 อธิบายความรู้ด้านการวิจัยพื้นฐานในปัจจุบัน
3. ด้านทักษะทางปัญญา
3.1 ปฏิบัติทักษะในการแสวงหาความรู้ตลอดชีวิต การวิเคราะห์ตนเอง การสร้างแผนการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ
3.2 แก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวันได้อย่างเป็นระบบและสร้างสรรค์ โดยใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องในการดูแลสุขภาพ
3.3 แสดงการค้นหา การคิดวิเคราะห์ และการประเมิน โดยใช้องค์ความรู้และทักษะทางวิชาชีพที่เกี่ยวข้องในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม อย่างมีเหตุมีผลทางคลินิก ปลอดภัยและได้คุณภาพ
3.4 ประยุกต์งานกายภาพบำบัดกับการบูรณาการศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับสถานการณ์และบริบททางสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงไป
3.5 ปฏิบัติการวิจัยพื้นฐาน การเป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพกายภาพบำบัด
3.6 แสดงคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ
4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
4.1 แสดงออกถึงพฤติกรรมจิตสาธารณะ การปรับตัวและการปฏิสัมพันธ์อย่างสร้างสรรค์กับผู้ร่วมงาน
4.2 แสดงออกถึงพฤติกรรมจิตบริการ ความสามารถปรับตัวและการปฏิสัมพันธ์อย่างสร้างสรรค์กับผู้ใช้บริการ ผู้ร่วมงาน และ ผู้บังคับบัญชา ในการปฏิบัติวิชาชีพ
4.3 ทำงานเป็นทีมในบทบาทผู้นำและสมาชิก ในบริบทหรือสถานการณ์ที่แตกต่างกัน
4.4 แสดงออกถึงพฤติกรรมที่รับผิดชอบในการพัฒนาตนเอง และวิชาชีพ
5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ
5.1 ประยุกต์เทคนิคทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ในการศึกษาค้นคว้า และการเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหา
5.2 เลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีดิจิทัลในการเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผล การแปลความหมาย และการนำเสนอข้อมูลสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
5.3 สื่อสารภาษาอังกฤษและภาษาไทยในการพูด การเขียน และการนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพ
6. ด้านทักษะเชิงวิชาชีพ
6.1 ปฏิบัติทักษะทางวิชาชีพกายภาพบำบัด ในการตรวจประเมิน การวินิจฉัยทางกายภาพบำบัด การป้องกัน การบำบัดรักษา การฟื้นฟู และการส่งเสริมสุขภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ
6.2 ปฏิบัติทักษะทางวิชาชีพกายภาพบำบัดโดยใช้เหตุผลทางคลินิกอย่างเป็นองค์รวม

6.3 ใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการปฏิบัติทักษะทางวิชาชีพกายภาพบำบัด

8. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

1. ผู้ประกอบการด้านกายภาพบำบัด นักกายภาพบำบัดในสถานบริการสุขภาพทุกระดับ ทั้งภาครัฐและเอกชน นักกายภาพบำบัดประจำโรงเรียนการศึกษาพิเศษ และนักกายภาพบำบัดประจำทีมหรือสโมสรกีฬา
2. ผู้ประกอบอาชีพอิสระด้านกายภาพบำบัดทั้งในและต่างประเทศ

Info 2

อัตราการสำเร็จการศึกษา: 100%
อัตราการได้งานทำ: 100%
อัตราการสอบผ่านใบประกอบวิชาชีพ: 100%

9. แผนการศึกษา

หมายเหตุ
เป็นหลักสูตรเหมาจ่าย 35,000 บาทต่อภาคการศึกษา และภาคฤดูร้อน (ฝึกปฏิบัติงาน) 1 ภาคการศึกษาเหมาจ่าย 20,000 บาท


รายละเอียดติดต่อ

ผศ.ดร. ศิริรัตน์ เกียรติกูลานุสรณ์ ประธานหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (กายภาพบำบัด)
เบอร์โทรศัพท์ 038-103168

ประธานหลักสูตร ผศ.ดร.ศิริรัตน์ เกียรติกูลานุสรณ์
วุฒิการศึกษา
วท.บ.เกียรตินิยมอันดับ 1 (กายภาพบำบัด) ม.มหิดล
วท.ม. (กายภาพบำบัด) ม.มหิดล
ผศ.ดร.อรชร บุญลา
วุฒิการศึกษา
วท.บ.เกียตินิยมอันดับ 2 (กายภาพบำบัด) ม.ขอนแก่น
ปร.ด. (สรีรวิทยาทางการแพทย์) ม.ขอนแก่น
ผศ. ดร.พิมลพรรณ ทวีการ วรรณจักร
วุฒิการศึกษา
วท.บ. (กายภาพบำบัด) ม.ศรีนครินทรวิโรฒ
วท.ม. (กายภาพบำบัด) ม.ขอนแก่น
ตำแหน่งทางวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์


ผศ.นงนุช ล่วงพ้น
วุฒิการศึกษา
วท.บ. (กายภาพบำบัด) มหาวิทยาลัยขอนแก่น
วท.ม. (ประสาทวิทยาศาสตร์) มหาวิทยาลัยมหิดล
ตำแหน่งทางวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์
ดร.จันทร์ทิพย์ นามสว่าง
วุฒิการศึกษา
วท.บ. (กายภาพบำบัด) ม.ขอนแก่น
วท.ม. (วิทยาศาสตร์ความงาม และสุขภาพ) ม.ขอนแก่น
ปร.ด. (วิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวของมนุษย์) ม.ขอนแก่น


ผศ.ดร.กุลธิดา กล้ารอด
วุฒิการศึกษา
วท.บ. (กายภาพบำบัด) ม.ขอนแก่น
วท.ม. (ชีวเคมีทางการแพทย์) ม.ขอนแก่น
Ph.D. (Sport Science) University of Innsbruck, Austria