หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาโภชนบำบัดและการกำหนดอาหาร หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2561 ดาวน์โหลดหลักสูตร PDF ไฟล์ |
1. รหัสและชื่อหลักสูตร
รหัส 25610194000607 ภาษาไทย: หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาโภชนบำบัดและการกำหนดอาหาร ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Science Program in Nutritional Therapy and Dietetics |
ชื่อปริญญาภาษาไทย:วิทยาศาสตรบัณฑิต (โภชนบำบัดและการกำหนดอาหาร) |
3. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 128 หน่วยกิต |
4. รูปแบบของหลักสูตร หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี ระบบทวิภาค |
5. ความสำคัญของหลักสูตร หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาโภชนบำบัดและการกำหนดอาหารได้รับการยกระดับขึ้นมาจากหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาชีวเวชศาสตร์ วิชาเอกเลือกโภชนบำบัด ที่เปิดการเรียนการสอนมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2553 และได้ผลิตบัณฑิตที่ทำงานด้านอาหารและโภชนาการมาแล้วจำนวนทั้งสิ้น 4 รุ่น โดยพัฒนารายวิชาในหลักสูตรให้ครอบคลุมองค์ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการมากขึ้นทุกด้าน อาทิ ด้านโภชนคลินิกและการกำหนดอาหาร ด้านโภชนาการชุมชน ด้านวิทยาศาสตร์การอาหาร รวมถึงการฝึกปฎิบัติงานไม่ต่ำกว่า 900 ชั่วโมง โดยครอบคลุมด้านโภชนคลินิก โภชนบริการ และโภชนาการชุมชนตามหลักเกณฑ์ของสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย เป็นหลักสูตรเดียวที่ผลิตบัณฑิตที่มีความเชี่ยวชาญวิชาการเฉพาะด้านโภชนาการชุมชน และโภชนาการคลินิกในภาคตะวันออก นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นให้นิสิตฝึกปฏิบัติงานในโรงพยาบาลและสถานบริการสุขภาพในภาคตะวันออก เพื่อให้นิสิตสามารถวิเคราะห์หาสาเหตุ วางแผน ป้องกัน แก้ไขปัญหา และส่งเสริมโภชนาการชุมชนได้อย่างเป็นระบบ |
6. ปรัชญาหลักสูตร ผลิตนักโภชนาการและนักกำหนดอาหารที่มีความรู้และทักษะด้านการส่งเสริม ป้องกัน และฟื้นฟูสุขภาพประชาชนแบบองค์รวมด้านอาหารและโภชนาการในภาคตะวันออกและภูมิภาคอื่นๆของประเทศ ด้วยหลักจริยธรรมและจรรยาบรรณในสาขาอาชีพ |
7. วัตถุประสงค์ของหลักสูตร 1. หลักสูตรต้องการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ และทักษะด้านโภชนบำบัดและการกำหนดอาหารที่มีความสามารถในการดูแลผู้ป่วยตามแนวทางโภชนบำบัดทางการแพทย์ เพื่อช่วยส่งเสริมการรักษาของแพทย์ในการดูแลรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วยในภาคตะวันออก ควบคู่ไปกับทีมสหสาขาวิชาชีพ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนี้ จะประกอบอาชีพดังกล่าว 2. เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแล้ว บัณฑิตจะมีสมรรถนะ ดังนี้
2. ปฏิบัติตามคุณธรรมและจริยธรรมของสาขาอาชีพได้อย่างถูกต้อง 3. มีสัมมาคารวะ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีมารยาทที่ดีต่อผู้อื่น มีคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ 4. วิเคราะห์ข้อมูล และสังเคราะห์ประเด็นต่างๆ แก้ไขปัญหา และพัฒนางานที่เกี่ยวข้องกับงานโภชนบำบัดและการกำหนดอาหารได้อย่างเป็นระบบ 5. ประเมินภาวะโภชนาการและให้โภชนบำบัดทางการแพทย์ได้ถูกต้องตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาการ 6. ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแสวงหาข้อมูลด้านโภชนบำบัดทางการแพทย์ ประเมินข้อเท็จจริงของข้อมูลได้อย่างมีวิจารณญาณ และสื่อสารข้อมูลแก่ผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
8. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ประกอบอาชีพที่ทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพในการประเมิน ติดตาม และวางแผน ด้านภาวะทางโภชนาการของผู้ป่วย การคำนวณความต้องการพลังงานของผู้ป่วย เพื่อจัดและแนะนำอาหารให้เหมาะสมกับภาวะของร่างกายทั้งอาหารปกติและอาหารทางสายยาง สนับสนุนการรักษาผู้ป่วยโดยใช้อาหารเป็นเครื่องมือในการช่วยให้ร่างกายฟื้นจากโรคภัยไข้เจ็บและกลับคืนสู่สภาวะปกติ ตลอดจนการแนะนำและการจัดอาหารเพื่อสุขภาพเฉพาะบุคคลตามความแตกต่างด้านพฤติกรรมการบริโภค การใช้ชีวิตประจำวัน ศาสนา และวัฒนธรรม ตลอดจนคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆด้านอาหารและโภชนาการเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านโภชนาการให้แก่ผู้ป่วยรวมถึงบุคคลทั่วไป บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาสามารถสอบใบรับรองเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นนักกำหนดอาหารวิชาชีพจากสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย โดยตัวอย่างอาชีพที่รองรับ ได้แก่ นักโภชนาการ นักกำหนดอาหาร ประจำโรงพยาบาลและสถานประกอบการอื่นๆทั้งภาครัฐบาลและเอกชน นักวิจัยทางด้านโภชนาการในสถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง ผู้ประกอบการด้านอาหาร โภชนาการ ในสถานส่งเสริมสุขภาพและความงาม ที่ปรึกษาทางด้านโภชนบำบัด การกำหนดอาหาร รวมถึงศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาด้านโภชนาการ และด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพอื่นๆที่เกี่ยวข้อง |
9. คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา - เป็นผู้สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า (สายวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์) - ตาไม่บอดสี |
10. โครงสร้างหลักสูตร
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11. แผนการศึกษา |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รายละเอียดติดต่อ ดร.รังสิมา ดรุณพันธ์ โทร 080-0458083 Email: rungsima.da@go.buu.ac.th อ.ทนุอุดม มณีสิงห์ โทร 089-0112295 Email: tanuudom.ma@go.buu.ac.th |
![]() |
||||
ประธานหลักสูตร ดร.รังสิมา ดรุณพันธ์ วุฒิการศึกษา วท.ด. (เภสัชเคมีและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วท.ม. (เทคโนโลยีทางอาหาร) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วท.บ. (อาหารและโภชนาการ) มหาวิทยาลัยมหิดล |
||||
![]() |
อาจารย์ทนุอุดม มณีสิงห์ วุฒิการศึกษา วท.บ. (โภชนาการและการกำหนดอาหาร) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วท.ม. (โภชนศาสตร์) ม.มหิดล |
![]() |
แพทย์หญิงเพ็ชรงาม ไชยวานิช วุฒิการศึกษา แพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วุฒิบัตรวิชาชีพ สาขาวิชาอายุรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วุฒิบัตรวิชาชีพ อนุสาขาวิชาอายุรศาสตร์ โรคต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิส มหาวิทยาลัยมหิดล |
|
![]() |
ผศ.ดร.ปิยะพงษ์ ประเสริฐศรี วุฒิการศึกษา วท.บ. (กายภาพบำบัด) ม.ขอนแก่น วท.ม. (สรีรวิทยาทางการแพทย์) ม.ขอนแก่น ปร.ด. (สรีรวิทยาทางการแพทย์) ม.ขอนแก่น |
![]() |
ดร.ณัฐภาณินี ถนอมศรีเดชชัย วุฒิการศึกษา วท.ด. (ชีวเวชศาสตร์) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วท.ม. (วิทยาศาสตร์การแพทย์) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วท.บ. (เทคนิคการแพทย์) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
![]() |
ศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิง จงจิตร อังคทะวานิช เภสัชศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล วท.ม. (โภชนศาสตร์) มหาวิทยาลัยมหิดล วท.ด. (ชีวเวชศาสตร์) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |