1. รหัสและชื่อหลักสูตร |
รหัส 25540191103487
ภาษาไทย: หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Science Program in Medical Technology |
2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา |
ชื่อปริญญาภาษาไทย: วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคนิคการแพทย์)
ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษ: Bachelor of Science (Medical Technology)
อักษรย่อภาษาไทย: วท.บ. (เทคนิคการแพทย์)
อักษรย่อภาษาอังกฤษ: B.Sc. (Medical Technology) |
3. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร |
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 138 หน่วยกิต |
4. รูปแบบของหลักสูตร |
4.1 รูปแบบ หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี
4.2 ประเภทของหลักสูตร ปริญญาตรีทางวิชาชีพ
4.3 ภาษาที่ใช้ ภาษาไทย
4.4 การรับเข้าศึกษา รับนิสิตไทย
4.5 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น/หน่วยงานอื่น (ภาครัฐ ภาคเอกชน หรือชุมชน)
-
4.6 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว
|
5. ปรัชญาหลักสูตร |
ผลิตบัณฑิตเทคนิคการแพทย์ที่มีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ บูรณาการและประยุกต์ความรู้ในการแก้ไขปัญหาและเรียนรู้ตลอดชีวิต บนพื้นฐานความเชื่อ “การเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติจริงและเรียนรู้ตลอดชีวิต” ผ่านกระบวนการเรียนการสอนที่หลากหลาย ฝึกปฏิบัติและตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างจากผู้ป่วยในห้องเรียนปฏิบัติการ ห้องปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์จำลอง ห้องปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์ ณ โรงพยาบาลแหล่งฝึกงานตามมาตรฐานของสภาเทคนิคการแพทย์ การวิจัย และชุมชน
|
6. วัตถุประสงค์ของหลักสูตร |
เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนตามหลักสูตรนี้แล้ว บัณฑิตจะมีสมรรถนะ ดังนี้
1) แสดงออกถึงความซื่อสัตย์ มีระเบียบวินัย มีจิตสาธารณะ ปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมทั้งต่อตนเอง ผู้ใช้บริการ เพื่อนร่วมงาน โดยยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ สิทธิผู้ป่วย คุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
2) มีความรู้ภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ทั้งทางวิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์สุขภาพ วิชาชีพเทคนิคการแพทย์ การบริหารห้องปฏิบัติการ การเป็นผู้ประกอบการ จรรยาบรรณวิชาชีพและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เท่าทันต่อการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลง
3) แสดงออกถึงการเป็นผู้คิดวิเคราะห์ ประยุกต์ความรู้ได้อย่างเป็นระบบ สร้างสรรค์ สามารถทำวิจัย บูรณาการความรู้ทางวิชาชีพและองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ปัญหา และพัฒนาคุณภาพงาน นำไปสู่นวัตกรรมหรือองค์ความรู้ใหม่ มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
4) ร่วมงานหรือมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ทั้งในบทบาทผู้นำหรือสมาชิก ด้วยสัมพันธภาพอันดี รับผิดชอบต่อหน้าที่และผลของการปฏิบัติงาน สามารถทำงานร่วมกับสหวิชาชีพ หรือทีมสุขภาพ (Health team)
5) ประยุกต์ใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์ สถิติและข้อมูลเชิงตัวเลข มาใช้วิเคราะห์ วิจัย แก้ปัญหา หรือพัฒนางาน สื่อสารด้วยภาษาไทยและภาษาอังกฤษอย่างมีประสิทธิภาพ และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสืบค้น รวบรวม วิเคราะห์ และนำเสนอ
6) เก็บสิ่งตัวอย่าง และตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์ตามมาตรฐานวิชาชีพ |
7. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร |
คุณธรรม จริยธรรม
PLO1 แสดงออกถึงความซื่อสัตย์ มีระเบียบวินัย จิตสาธารณะ ปฏิบัติตนโดยยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ วิชาการ และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
ความรู้
PLO2 ประยุกต์ใช้ทฤษฎี หลักการความรู้ที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์พื้นฐานชีวิต วิทยาศาสตร์สุขภาพ วิชาชีพเทคนิคการแพทย์ และการแพทย์แม่นยำ เพื่อตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์
ทักษะทางปัญญา
PLO3 คิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ บูรณาการความรู้ทางวิชาชีพและองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ในการวิจัย แก้ไขปัญหา พัฒนาคุณภาพงาน และนวัตกรรม
ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ
PLO4 ทำงานเป็นทีมในบทบาทผู้นำหรือสมาชิก ด้วยสัมพันธภาพอันดีและทำงานร่วมกับวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง
PLO5 แสดงออกทักษะของการเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต
ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
PLO6 ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและสารสนเทศในการสืบค้น วิเคราะห์ วิจัย นำเสนอข้อมูล และแก้ปัญหา
PLO7 สื่อสารองค์ความรู้ทางสุขภาพ และให้คำแนะนำวิธีการตรวจและผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ แก่สหวิชาชีพ ผู้ป่วยและชุมชน
ทักษะพิสัย เฉพาะวิชาชีพ
PLO8 ตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์ตามมาตรฐานวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ |
8. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา |
1. นักเทคนิคการแพทย์ประจำห้องปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์ในโรงพยาบาลของรัฐและเอกชน
2. ผู้ประกอบการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ หรือคลินิกเทคนิคการแพทย์
3. นักวิทยาศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ นักวิจัย ผู้ช่วยนักวิจัย หรือนักวิเคราะห์ที่ใช้เทคโนโลยีทางห้องปฏิบัติการ
4. ผู้ปฏิบัติงานด้านเครื่องมือห้องปฏิบัติการทางการแพทย์
5. ผู้แทนประจำบริษัทจำหน่าย/ผลิต น้ำยา และเครื่องมือทางการแพทย์
6. นักวิชาการในสถาบันวิทยาศาสตร์ หรือสถานศึกษา
7. นักวิชาการด้านเครื่องมือ อุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ และการประเมินสภาวะสุขภาพในบริษัทประกันชีวิต |
9. สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร |
- หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559 เปิดสอนภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2560 ปรับปรุงจากหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2554
- สภาวิชาการให้ความเห็นชอบหลักสูตรในการประชุม ครั้งที่ 5/2559 วันที่ 8 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2559
- สภามหาวิทยาลัยให้ความเห็นชอบหลักสูตรในการประชุม ครั้งที่ 6/2559 วันที่ 17 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2559
- สภามหาวิทยาลัยให้ความเห็นชอบหลักสูตรในการประชุม ครั้งที่ 11/2560 วันที่ 4 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2560
- สภาวิชาชีพ สภาเทคนิคการแพทย์ .เห็นชอบหลักสูตรในการประชุม ครั้งที่ 3/2560 วันที่ 6 เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2560
|
9.แผนการศึกษา |
แผนการศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565 |
10.อัตราการสำเร็จการศึกษาของนิสิต |
อัตราการสำเร็จการศึกษาของนิสิต (ข้อมูลวันที่ 29 เม.ย. 2565)
นิสิตแรกเข้า |
จำนวนนิสิตที่รับในรุ่นนั้น |
จำนวนนิสิตที่จบภายในระยะเวลา (4 ปี) |
จำนวนนิสิตที่จบเกินเวลา (มากกว่า 4 ปี) |
รุ่นที่ 1 (รหัส 55) |
37 |
33 (89.19%) |
1 (2.7%) |
รุ่นที่ 2 (รหัส 56) |
38 |
37 (97.37%) |
0 (0%) |
รุ่นที่ 3 (รหัส 57) |
39 |
35 (89.74%) |
1 (2.56%) |
รุ่นที่ 4 (รหัส 58) |
39 |
34 (87.17%) |
1 (2.56%) |
รุ่นที่ 5 (รหัส 59) |
37 |
28 (75.68%) |
4 (10.81) |
รุ่นที่ 6 (รหัส 60) |
34 |
31 (93.94%) |
2 (6.06%) |
รุ่นที่ 7 (รหัส 61) |
53 |
51 (98.08%) |
1 (1.92%) |
รุ่นที่ 8 (รหัส 62) |
52 |
ยังไม่มีบัณฑิต |
ยังไม่มีบัณฑิต |
|
อัตราการได้งานทำของผู้สำเร็จการศึกษา (ข้อมูลวันที่ 28 เม.ย. 2565)
|
จำนวนนิสิตที่จบภายในระยะเวลา (4 ปี) |
บัณฑิตที่มีงานทำ (ภายใน 1 ปี) |
บัณฑิตที่ว่างงาน (ภายใน 1 ปี) |
รุนที่ 1 (รหัส 55) |
33 |
33 (100%) |
0 |
รุนที่ 2 (รหัส 56) |
37 |
37 (100%) |
0 |
รุนที่ 3 (รหัส 57) |
35 |
35 (100%) |
0 |
รุนที่ 4 (รหัส 58) |
34 |
34 (100%) |
0 |
รุนที่ 5 (รหัส 59) |
29 |
28 (96.55) |
1 (เกณฑ์ทหาร) |
รุนที่ 6 (รหัส 60) |
31 |
31 (100%) |
0 |
รุนที่ 7 (รหัส 61) |
51 |
บัณฑิตจบยังไม่ครบ 1 ปี |
บัณฑิตจบยังไม่ครบ 1 ปี |
|