หลักสูตรชีวเวชศาสตร์

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ หลักสูตร พ.ศ. 2564
ดาวน์โหลดหลักสูตร PDF ไฟล์

1. รหัสและชื่อหลักสูตร
รหัส 25520191101246
ภาษาไทย: หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Science Program in Medical Sciences
2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อปริญญาภาษาไทย: วิทยาศาสตรบัณฑิต (วิทยาศาสตร์การแพทย์)
ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษ: Bachelor of Science (Medical Sciences)
อักษรย่อภาษาไทย: วท.บ. (วิทยาศาสตร์การแพทย์)
อักษรย่อภาษาอังกฤษ: B.Sc. (Medical Sciences)
3. วิชาเอก
- ไม่มี
4. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 121 หน่วยกิต

5. รูปแบบของหลักสูตร

5.1 รูปแบบ หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี
5.2 ประเภทของหลักสูตร หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ
5.3 ภาษาที่ใช้  หลักสูตรจัดการศึกษาเป็นภาษาไทย
5.4 การรับเข้าศึกษา รับทั้งนิสิตไทยและนิสิตต่างชาติ
5.6 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

6. ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน

หลักสูตรมีความพร้อมในการเผยแพร่คุณภาพและมาตรฐานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552  ในปีการศึกษา 2566

7. ปรัชญาหลักสูตร

ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ เชี่ยวชาญทักษะการปฏิบัติงานด้านการวิจัย ประยุกต์ความรู้เพื่อประกอบอาชีพได้อย่างเหมาะสม  มีคุณธรรม จริยธรรม

8. วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนตามหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564 นี้แล้ว บัณฑิตจะมีสมรรถนะ ดังนี้ มีคุณธรรม จริยธรรม และมีวินัยในการประกอบอาชีพ
1. อธิบายหลักการ ทฤษฎีพื้นฐาน และเชื่อมโยงความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์กับการปฏิบัติงานด้านการวิจัยที่เป็นปัจจุบันได้
2. มีทักษะในการปฏิบัติงานด้านการวิจัยที่หลากหลาย เพื่อเป็น ผู้ช่วยวิจัย หรือนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่มีความพร้อมในการประกอบอาชีพ
3. สามารถคิดวิเคราะห์ ประยุกต์ และแก้ปัญหาในการปฏิบัติงานด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้อย่างเป็นระบบและสอดคล้องกับสถานการณ์
4. สามารถทำงานวิจัยร่วมกับผู้อื่นได้ มีภาวะผู้นำ มีความรับผิดชอบ และมีจิตสาธารณะ
5. สามารถจัดการข้อมูลวิจัยโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่เป็นปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6. มีทักษะภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย เพื่อเผยแพร่งานวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
7. สามารถปฏิบัติการวิจัย และใช้เครื่องมือวิจัยพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้อย่างถูกต้อง

9. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

PLO1 มีคุณธรรม จริยธรรมในการดำเนินชีวิตตามจรรยาบรรณทางวิชาการ และการวิจัยทางวิทยาศาสตร์การแพทย์
PLO2 มีความตรงต่อเวลา
PLO3 เข้าใจ และอธิบายหลักการและทฤษฎีพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานด้านการวิจัยได้
PLO4 สามารถเชื่อมโยงความรู้จากทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์การแพทย์สู่การปฏิบัติงานด้านการวิจัย เพื่อเป็นผู้ช่วยวิจัย หรือนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่มีความพร้อมในการประกอบอาชีพ
PLO5 รู้เท่าทันต่อความก้าวหน้าในงานทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ และการเปลี่ยนแปลงของภูมิภาคในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และของโลก
PLO6 มีทักษะการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ และประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์เพื่อพัฒนาตนเองในอาชีพอย่างต่อเนื่อง       
PLO7 สามารถแก้ปัญหาในการปฏิบัติงานด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องต่อสถานการณ์
PLO8 สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ แก้ปัญหาในการปฏิบัติงานด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้อย่างเป็นระบบและมีเหตุมีผลตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
PLO9 มีความรับผิดชอบ มีภาวะผู้นำ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และแสดงออกถึงจิตสาธารณะทำงานเพื่อส่วนรวมและสังคม
PLO10 สามารถกำหนดประเด็นปัญหาจากการศึกษาค้นคว้าทบทวนวรรณกรรม และประเมินสถานการณ์ของปัญหาได้จากการเลือกใช้ และประยุกต์เทคนิคทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับงานทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้อย่างเหมาะสม
PLO11 สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการแสวงหาข้อมูลในการปฏิบัติงานด้านการวิจัยอย่างรู้เท่าทันและหลากหลาย
PLO12 สามารถใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษในการพูด การเขียน และการนำเสนองานวิจัยอย่างมีประสิทธิภาพ
PLO13 สามารถปฏิบัติการวิจัย และใช้เครื่องมือวิจัยพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้อย่างถูกต้อง

10. หลักสูตรที่เทียบเคียง หลักสูตร Biomedical Sciences (International Program) มหาวิทยาลัยมหิดล

11. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
ประกอบอาชีพที่ทำงานเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การแพทย์   รวมถึงการปฏิบัติการวิจัยที่ใช้เครื่องมือทางด้านวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตัวอย่างอาชีพที่รองรับ
ได้แก่  นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ นักเทคโนโลยีชีวภาพ นักเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ ผู้ช่วยวิจัย นักวิทยาศาสตร์ ในสถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย สถานประกอบการด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพทั้งภาครัฐและเอกชน เป็นต้น

12. โครงสร้างหลักสูตร
1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
2) หมวดวิชาเฉพาะ 85 หน่วยกิต
2.1) วิชาแกน 16 หน่วยกิต
2.2) วิชาเอก 69 หน่วยกิต
2.2.1) วิชาเอกบังคับ 64 หน่วยกิต
2.2.2) วิชาเอกเลือก 5 หน่วยกิต
3) หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
13.แผนการศึกษา
แผนการศึกษาของหลักสูตร วท.บ. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564

หมายเหตุ
ค่าลงทะเบียนคิดตามหน่วยกิต ตามประกาศของมหาวิทยาลัย


รายละเอียดติดต่อ
ดร.วิทูร ขาวสุข Tel. 0-3810-3168
รศ.ดร.ศิริพร จำเนียรสวัสดิ์ Tel. 0-3810-3168


ประธานหลักสูตร ดร.วิทูร ขาวสุข
วุฒิการศึกษา
วท.บ. (ชีววิทยา) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ปร.ด. (กายวิภาคศาสตร์) มหาวิทยาลัยมหิดล
ดร.ธนพรรณ เสียงแจ่ม
วุฒิการศึกษา
วท.บ.เกียรตินิยมอันดับ 1 (สัตววิทยา) ม.เชียงใหม่
ปร.ด. (กายวิภาคศาสตร์และชีววิทยาโครงสร้าง) ม.มหิดล

รศ.ดร.ศิริพร จำเนียรสวัสดิ์
วุฒิการศึกษา
วท.บ. (วิทยาศาสตร์การแพทย์) ม.บูรพา
วท.ม. (กายวิภาคศาสตร์) ม.มหิดล
ปร.ด. (กายวิภาคศาสตร์และ ชีววิทยาโครงสร้าง) ม.มหิดล
ตำแหน่งทางวิชาการ รองศาสตราจารย์


ดร.ศรีอรุณ เอี่ยมจันทร์
วุฒิการศึกษา
วท.บ. เกียรตินิยมอันดับ 1 (วิทยาศาสตร์การแพทย์) ม.นเรศวร
น.บ. เกียรตินิยมอันดับ 1 (นิติศาสตร์บัณฑิต) ม.นเรศวร
ปร.ด (กายวิภาคศาสตร์) ม.นเรศวร

ดร.กุลวรา พูลผล
วุฒิการศึกษา
วท.บ. (จุลชีววิทยา) มหาวิทยาลัยขอนแก่น
วท.ม. (จุลชีววิทยาทางการแพทย์) มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Ph.D. (Biomedical Sciences)
(Infectious Diseases Program)
Innsbruck Medical University, Austria.