หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564 |
1. รหัสและชื่อหลักสูตร |
2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา ชื่อปริญญาภาษาไทย: วิทยาศาสตรบัณฑิต (โภชนาการและการกำหนดอาหาร) ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษ: Bachelor of Science (Nutrition and Dietetics) อักษรย่อภาษาไทย: วท.บ. (โภชนาการและการกำหนดอาหาร) อักษรย่อภาษาอังกฤษ: B.Sc. (Nutrition and Dietetics) |
3. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 138 หน่วยกิต |
4. รูปแบบของหลักสูตร หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพ 4 ปี ระบบทวิภาค ภาษาไทย รับนิสิตไทย และนิสิตต่างชาติที่มีความรู้ภาษาไทยเป็นอย่างดี เป็นหลักสูตรเฉพาะของสถาบัน |
5. ความสำคัญของหลักสูตร หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาโภชนาการและการกำหนดอาหารได้รับการพัฒนาปรับปรุง ยกระดับขึ้นมาจากหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาโภชนบำบัดและการกำหนดอาหารที่เปิดการเรียนการสอนมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2561 โดยพัฒนารายวิชาในหลักสูตรให้ครอบคลุมองค์ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการมากขึ้นทุกด้าน อาทิ ด้านโภชนาการคลินิก ด้านโภชนบริการ ด้านโภชนาการชุมชน และด้านวิทยาศาสตร์การอาหาร รวมถึงการฝึกปฏิบัติงานด้านโภชนาการและการกำหนดอาหารไม่ต่ำกว่า 900 ชั่วโมง ตามหลักเกณฑ์ของมาตรฐานวิชาชีพ เพื่อมุ่งเน้นผลิตบัณฑิตที่มีความเชี่ยวชาญด้านโภชนาการและการกำหนดอาหาร เพื่อส่งเสริมภาวะโภชนาการที่ดี โดยการเสริมสร้างให้ประชากรในประเทศมีศักยภาพในการจัดการและดูแลสุขภาพด้านโภชนาการ ตลอดจนการควบคุมและป้องกันภาวะทุพโภชนาการ เพื่อนำไปสู่การมีภาวะโภชนาการที่ดี โดยหลักสูตรนี้เป็นส่วนหนึ่งของการยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีในการลดอัตราการเจ็บป่วย อัตราการตายจากปัญหาทุพโภชนาการของประชากรในประเทศ |
6. ปรัชญาหลักสูตร นักโภชนาการและนักกำหนดอาหารที่มีความรู้และทักษะทางด้านการส่งเสริม ป้องกัน และฟื้นฟูสุขภาพประชาชน ด้วยหลักจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ |
7. วัตถุประสงค์ของหลักสูตร เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแล้ว บัณฑิตจะมีสมรรถนะ ดังนี้ 7.1 ตรงต่อเวลา และปฏิบัติตามคุณธรรม จริยธรรมของสาขาอาชีพได้อย่างถูกต้อง 7.2 มีความรู้ ความเข้าใจหลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับโภชนาการและการกำหนดอาหาร และบูรณาการความรู้สู่การปฏิบัติได้อย่างเหมาะสมและเท่าทันต่อความก้าวหน้าของสาขาอาชีพได้ 7.3 วิเคราะห์ข้อมูล และสังเคราะห์ประเด็นต่างๆ แก้ไขปัญหา และประยุกต์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับโภชนาการและการกำหนดอาหารได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ 7.4 มีภาวะผู้นำ มีความรับผิดชอบ จิตสาธารณะ และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ 7.5 ใช้เทคโนโลยีด้านสารสนเทศในการแสวงหาข้อมูลด้านโภชนาการและการกำหนดอาหาร และประเมินข้อเท็จจริงของข้อมูลได้อย่างมีวิจารณญาณ สื่อสารและนำเสนอข้อมูลได้อย่างถูกต้องเหมาะสม 7.6 ปฏิบัติงานตามหลักวิชาการได้อย่างถูกต้อง และครอบคลุมด้านการกำหนดอาหาร โภชนบริการ และโภชนาการชุมชุม |
8. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร 8.1 มีคุณธรรม จริยธรรมในการดำเนินชีวิตตามจรรยาบรรณทางวิชาการและอาชีพ 8.2 มีความตรงต่อเวลา 8.3 เข้าใจและอธิบายหลักการและทฤษฎีพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับโภชนาการและการกำหนดอาหาร 8.4 บูรณาการความรู้จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง 8.5 รู้เท่าทันต่อความก้าวหน้าในงานเกี่ยวข้องกับโภชนาการและการกำหนดอาหาร การเปลี่ยนแปลงของภูมิภาคในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกและของโลก 8.6 แสวงหาความรู้ และประยุกต์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับโภชนาการและการกำหนดอาหารเพื่อพัฒนาตนเองในอาชีพอย่างต่อเนื่อง 8.7 ตัดสินใจแก้ปัญหาในงานที่เกี่ยวข้องกับโภชนาการและการกำหนดอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องต่อสถานการณ์ 8.8 คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ แก้ปัญหา ในงานที่เกี่ยวข้องกับโภชนาการและการกำหนดอาหารได้อย่างเป็นระบบและมีเหตุมีผลตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 8.9 มีความรับผิดชอบ มีภาวะผู้นำ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และแสดงออกถึงจิตสาธารณะทำงานเพื่อส่วนรวมและสังคม 8.10 กำหนดประเด็นปัญหาจากการศึกษาค้นคว้าทบทวนวรรณกรรม และประเมินสถานการณ์ของปัญหาได้จากการเลือกใช้และประยุกต์เทคนิคทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม 8.11 ใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษในการพูด การเขียน และการนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพ 8.12 ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการแสวงหาข้อมูลอย่างรู้เท่าทันและหลากหลาย รวมทั้งนำเสนองานอย่างมีประสิทธิภาพ 8.13 ปฏิบัติการตามหลักวิชาการทางด้านการกำหนดอาหารและโภชนบริการได้ถูกต้อง 8.14 ปฏิบัติงานในสถานการณ์จริงด้านการกำหนดอาหาร โภชนบริการ และโภชนาการชุมชนได้อย่างเหมาะสม |
9. หลักสูตรที่เทียบเคียง : หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
10. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา ประกอบอาชีพที่ทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพในการประเมิน ติดตาม และวางแผนด้านภาวะทางโภชนาการของผู้ป่วย การคำนวณความต้องการพลังงานของผู้ป่วย เพื่อจัดและแนะนำอาหารให้เหมาะสมกับภาวะของร่างกายทั้งอาหารปกติและอาหารทางสายยาง สนับสนุนการรักษาผู้ป่วยโดยใช้อาหารเป็นเครื่องมือในการช่วยให้ร่างกายฟื้นจากโรคภัยไข้เจ็บและกลับคืนสู่สภาวะปกติ ตลอดจนการแนะนำและการจัดอาหารเพื่อสุขภาพเฉพาะบุคคลตามความแตกต่างด้านพฤติกรรมการบริโภค การใช้ชีวิตประจำวัน ศาสนา และวัฒนธรรม ตลอดจนคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ ด้านอาหารและโภชนาการเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านโภชนาการให้แก่ผู้ป่วยรวมถึงบุคคลทั่วไป บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาสามารถสอบใบรับรองเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นนักกำหนดอาหารวิชาชีพจากสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย โดยตัวอย่างอาชีพที่รองรับ ได้แก่ นักโภชนาการ นักกำหนดอาหาร ประจำโรงพยาบาลและสถานประกอบการอื่น ๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชน นักวิจัยทางด้านโภชนาการในสถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ผู้ประกอบการด้านอาหาร โภชนาการ ในสถานส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต ที่ปรึกษาทางด้านโภชนาการ การกำหนดอาหาร รวมถึงศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาด้านโภชนาการ และด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง |
11. คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา - เป็นผู้สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าและมีเกณฑ์คุณสมบัติเพิ่มเติม (สายวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์) และเป็นไปตามประกาศ มหาวิทยาลัยบูรพา เรื่อง การศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2559) |
12. โครงสร้างหลักสูตร
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13. แผนการศึกษา |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14. อัตราการสำเร็จการศึกษา เนื่องจากหลักสูตรยังไม่มีบัณฑิตจึงไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับอัตราการสำเร็จการศึกษา |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15. อัตราการได้งานทำ เนื่องจากหลักสูตรยังไม่มีบัณฑิตจึงไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับอัตราการได้งานทำ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รายละเอียดติดต่อ ดร.รังสิมา ดรุณพันธ์ โทร 080-0458083 Email: rungsima.da@go.buu.ac.th อ.ทนุอุดม มณีสิงห์ โทร 089-0112295 Email: tanuudom.ma@go.buu.ac.th |
![]() |
||||
ประธานหลักสูตร ดร.รังสิมา ดรุณพันธ์ วุฒิการศึกษา วท.ด. (เภสัชเคมีและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วท.ม. (เทคโนโลยีทางอาหาร) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วท.บ. (อาหารและโภชนาการ) มหาวิทยาลัยมหิดล |
||||
![]() |
อาจารย์ทนุอุดม มณีสิงห์ วุฒิการศึกษา วท.บ. (โภชนาการและการกำหนดอาหาร) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วท.ม. (โภชนศาสตร์) ม.มหิดล |
![]() |
แพทย์หญิงเพ็ชรงาม ไชยวานิช วุฒิการศึกษา แพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วุฒิบัตรวิชาชีพ สาขาวิชาอายุรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วุฒิบัตรวิชาชีพ อนุสาขาวิชาอายุรศาสตร์ โรคต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิส มหาวิทยาลัยมหิดล |
|
![]() |
ผศ.ดร.ปิยะพงษ์ ประเสริฐศรี วุฒิการศึกษา วท.บ. (กายภาพบำบัด) ม.ขอนแก่น วท.ม. (สรีรวิทยาทางการแพทย์) ม.ขอนแก่น ปร.ด. (สรีรวิทยาทางการแพทย์) ม.ขอนแก่น |
![]() |
ดร.ณัฐภาณินี ถนอมศรีเดชชัย วุฒิการศึกษา วท.ด. (ชีวเวชศาสตร์) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วท.ม. (วิทยาศาสตร์การแพทย์) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วท.บ. (เทคนิคการแพทย์) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
![]() |
ศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิง จงจิตร อังคทะวานิช เภสัชศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล วท.ม. (โภชนศาสตร์) มหาวิทยาลัยมหิดล วท.ด. (ชีวเวชศาสตร์) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |